top of page

กูเกิลเตรียมออก Google Debit Card มาให้ใช้งานกัน

Writer's picture: Num | SahathustNum | Sahathust

Google กำลังเตรียมพัฒนา Debit Card ตัวล่าสุดมาให้ใช้งานกัน โดยจะออกมาในรูปแบบของบัตรจริงและ Virstual Card โดยผู้ใช้สามารถรูดซื้อของผ่านบัตรจริง ผ่านแอพบนมือถือ และ ใช้บนออนไลน์ ทั้งนี้จะมี App ออกมาเชื่อมกับบัตรโดยผู้ใช้สามารถรู้รายละเอียดการใช้บัตรได้อย่างง่ายดาย ตรวจสอบยอดเงิน สามารถสั่งระงับบัตรจากมือถือได้ โดยช่วงเริ่มต้นนี้ กูเกิลจะทำการออกบัตรร่วมกับธนาคารต่างๆ อย่าง ซิตีแบงค์ และ Stanford Federal Credit Union


Google Debit Card ที่บริษัทกูเกิลเตรียมออกมา | Noonnum.com

จะเห็นได้ว่าก่อนหน้านี้บริษัทTech ใหญ่ๆอย่าง Apple ก็เลือกที่จะมีบริการทางการเงินเป็นของตัวเอง การพัฒนาบัตรเครดิตโดยใช้ชื่อว่า Apple Card ออกมาให้ใช้บริการกันตั้แต่ปี 2019 โดยได้ออกเป็นตัวบัตรจริงและบัตรเสมือน (Virtual Card)บนโทรศัพท์มือถือ ตัวบัตรทำจากไทเทเนียมเพิ่มความหรูหรา ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ Transaction ต่างๆ และสั่งระงับบัตรผ่านตัวแอพเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน และไม่มีค่าธรรมเนียมรายปีหรือ ค่าทำบัตรใหม่ นอกจากนั้น เมื่อผู้ใช้ซื้อ App หรือบริการทางแอปเปิล ผู้ใช้บัตรจะได้รับเงินคืน (Cashback)อีกต่างหาก ก็จะเป็นแรงจูงใจที่จะเพิ่มผู้ใช้มากขึ้นในอนาคต แต่ตัว Apple Card เปิดให้บริการในอเมริกาเท่านั้น


และบริษัทยักษ์ใหญ่ ทางฝั่งเอเชียเราก็มีกลุ่มบริษัทอาลีบาบา ที่กระโดดเข้ามาเล่นบริการในรูปแบบทางการเงิน เนื่อง เริ่มต้นจากในช่วงแรกที่อาลีบาบามี Service Taobao หรือ เว็บไซต์ให้บริการ E-Commerce ค้าปลีกให้ผู้บริโภคตอนนั้นเกิดปัญหาของการจ่ายเงินบนระบบค่อนข้างยุ่งยากที่จะต้องโอนเงิน และค่าธรรมเนียมและการติดต่อกับแบงค์ของจึนสมัยนั้นค่อนข้างลำบาก ทางแจ็คหม่าผู้ก่อตั้ง ได้เข้าไปคุยกับทางธนาคารหลายต่อหลายครั้งก็ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่มีธนาคารเอายอมปรับระบบ ดังนั้นในหนึ่งปีต่อ มาแจ็คหม่าและทีมอาลีบาบา เลยคิดค้นและสร้างระบบ Alipay ในปี2004 ซึ่งเป็นระบบแรกของจีนที่เป็นตัวกลางระหว่างแบงค์และลูกค้าของบริษัท ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเปิดบัญชี Alipay และทำการจ่ายเงินผ่านระบบบน Taobao สร้างความน่าเชื่อถือให้คนขายและคนซื้อได้ดีมาก ดีกว่าวิธีใช้บัตรเครดิตสั่งซื้ออีกต่างหาก ในการสั่งซื้อสินค้าระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อในระบบ Alipay ก็ได้สร้าง Credit Score เอาไว้ในระบบนี้ Alipay นำมาใช้สำหรับการออกเครดิตและนำเสนอบริการทางการเงินในอนาคต นอกจากการซื้อขายบนระบบ Online ระบบAlipay ยังพยายามเชื่อมต่อออกบัตรเสมือนให้ผู้ใช้สามารถนำ นำ ID ของตัวเองไปจ่ายผ่านระบบ Offline อย่างตามร้านสะดวกซื้อ หรือ ตามร้านอาหาร หรือร้านค้าทั่วไปที่รับ Alipay ได้อีกด้วย ในปี 2014 อาลีบาบา ก็เปิดบริษัท Ant Financial โดยเข้ามาบริหาร Alipay และ AI (ปัญญาประดิษฐ์ )มาใช้เพื่ออนุมัติเครดิตให้กับลูกค้าของตัวเอง ปัจจุบัน Ant Financial เป็นบริษัทให้บริการทางการเงินมูลค่าสูงที่สุดในโลก


ในจีนก็ยังมีบริษัท Tencent ที่เปิดบริการ Wechat ซึ่งเป็น Super App (แอพสารพัดอย่าง) ที่ผู้ใช้สามารถโอนเงินให้กันและกันได้และซื้อสิน้คาหรือบริการในเครือ Tencent ได้ทั้งหมด ปัจจุบันก็มีคนจีนส่วนใหญ่ หันมาใช้ Wechat กันโดยเกือบจะเป็นสังคมไร้เงินสดแบบสมบูรณ์กันทั้งประเทศ


ภาพกูเกิลเดบิตการ์ดบน APP | Noonnum.com
ข้อมูลและภาพจาก Techcruch.com

ทำไมกูเกิลต้องมีเดบิตการ์ดของตัวเอง?

จะเห็นได้ว่านอกจากบริการทางการเงินที่ลูกค้าจะได้รับแล้ว ทางบริษัทจะได้ข้อมูลที่สำคัญที่สุดของทางฝั่งลูกค้า นั้นคือ ข้อมูลการใช้จ่ายนอกระบบออนไลน์ หรือการใช้จ่ายของลูกค้าในระบบออฟไลน์ ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้มีข้อมูลและเข้าใจลูกค้ามากขึ้น ทำให้นำเสนอ สินค้าหรือบริการ แบบเฉพาะบุคคลได้อย่างตรงจุด ตรงระเด็น ยิ่งเป็นบริษัทที่มีวิสัยทัศน์จะเป็นบริษัทจัดการข้อมูลของคนทั้งโลกอย่างกูเกิลแล้ว บริการบัตรเดบิตการ์ดตัวใหม่ที่กำลังพัฒนาของบริษัทจะเป็นเสมือน ประตูสู่ดาต้าใหม่ของลูกค้าเดิม เพราะกูเกิลนั้นได้รับเพียงแค่ข้อมูลที่ผู้ใช้งานเสริฟ์บนออนไลน์เท่านั้น ยกตัวอย่างถ้าลูกค้านำ Google Debit Card ไปรูดซื้อบริการรองเท้าที่ร้าน Nike กูเกิลก็จะทราบเส้นทางการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้ารายนั้นอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่เริ่มต้น ได้รับ Ads เรื่องรองเท้ารุ่นใหม่ของ Nike ลูกค้าดูข้อมูลเปรียบเทียบผ่าน Goolge Search ลูกค้าดู Youtube เพื่อดูโฆษณา ลูดค้าเข้าไปดูราคาบนเว็บไซต์ Nike สุดท้ายลูกค้าไปทดลองใส่รองเท้านั้นที่ Shop Nike เมื่อก่อนข้อมูลตรง Shop Nike จะไม่เห็น แต่ถ้าลูกค้าตัดสินใจซื้อและรูดผ่านบัตรของกูเกิลจะทำให้บริษัทได้รับข้อมูลทั้งระบบ สามารถส่งค่าหรือรายงานกลับไปให้ Nike ซึ่งเป็นลูกค้ากูเกิลว่า Ads ที่Nike สร้างและลงโฆษณาเอาไว้สัมฤทธิ์ผลหรือมีค่า Conversion


ทำไมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ถึงต้องการข้อมูลทางการเงิน?

ข้อมูลที่ได้ถูกป้อนกลับจะทำให้กูเกิล และบริษัทยักษ์ใหญ่ ได้รับข้อมูลที่มากขึ้น ข้อมูลเปรียบเสมือนน้ำมันที่เอาไว้ใช้ขับเคลื่อนทุกบริษัท ข้อมูลเป็นส่วนสำคัญทำให้บริษัทนำเสนอบริการและออกสินค้าให้ตรงใจลูกค้ามากขึ้น รายได้ของกูเกิลมาจากโฆษณา ยิ่งกูเกิลสามารถส่งโฆษณาที่ตรงกับผู้บริโภคมากเท่าไร ก็จะมีคนใช้บริการกูเกิลมากเท่านั้น ตรงจุดนี้เองทางกูเกิลจะได้ประโยชน์จากตัวการ์ดมากกว่าบริษัทแอปเปิลซึ่งไม่ได้เน้นรายได้ทางโฆษณามากนัก


บริษัทเทคยักษ์ใหญ่เหล่านี้ มีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent) ที่เป็นของตัวเองแต่ต้องยอมรับความแตกต่างระหว่างสอบประเทศนั้นคือทางฝั่งจีนและฝั่งอเมริกา โดยจีนจะนำมากกว่าเพราะข้อมูลของผู้บริโภคมีมากกว่า และเป็นข้อมูลที่ค่อนข้างถูกต้อง แต่ในฝั่ง US นั้น จะมีกฏหมายที่เข้มงวดมากกว่าและลูกค้าก็มักจะไม่อนุญาตให้นำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ไปพัฒนาให้ AI ได้เรียนรู้ ทำให้บริษัททางอเมริกาต้องค่อยๆเรียนรู้ และให้กระบวนการนำข้อมูลเหล่านั้นเพื่อไปพัฒนา AI ของตนเอง


กูเกิลยังไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวบัตรของตัวเองมามากนักแต่ก็บอกว่าช่วงเดือนหน้า อาจจะมีการเปิดตัวบริการของบัตรนี้ ทางฝั่งบ้านเรายังคงต้องรอกันไปก่อน แต่เราก็มีบริการ RabbitCard หรือ บัตรเงินสดของทรู ที่สามารถใช้งานกันได้อยู่แล้ว ถ้ามีข้อมูลเกี่ยวกับบริการใหม่ของกูเกิล ผมจะมานำเสนอให้อ่านกันใหม่ในครั้งหน้าครับ ขอบคุณที่ติดตาม


สามารถฟังบทความนี้ได้ใน Podcast Noonnum EP20




ทีมหนุนนำเป็น ผู้ช่วย และที่ปรึกษาด้านออนไลน์ เรามีบริการทางดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง หลากหลาย ตั้งแต่การสร้างเว็บไซต์ สร้างเพจธุรกิจ ทำการตลาดและจัดการโซเชียลมิเดีย สร้างสื่อวีดีโอดิจิตอล เพลงดนตรีประกอบมีเดียต่างๆ ทำโลโก้ ทำกราฟฟิค มีบริการจัดฝึกอบรม เพิ่มความสามารถให้กับพนักงาน สามารถติดต่อ Noonnum ได้ที่ลิงค์นี้หรือติดต่อเราผ่านทาง Line OA นะครับที่ @noonnum

21 views0 comments

Comments


bottom of page