top of page
Writer's pictureNum | Sahathust

แนะนำการสร้างเว็บไซต์ สำหรับผู้เริ่มต้น ตอนที่ 3 คุยกันเรื่องชื่อเว็บไซต์ ข้อมูลสำคัญ และจำนวนหน้า

Updated: Apr 15, 2019

จากตอนที่แล้วที่ทำให้เราทราบว่า อะไรคือ จุดประสงค์หลักของเว็บไซต์เรา และ เราได้ไปหาสำรวจเว็บไซต์ อื่นๆ ที่เหมาะจะนำมาทำเป็นตัวอย่าง หรือเป็น Web Reference ผมไม่แนะนำให้ทำการ โคลนนิ่ง เว็บไซต์ของคนอื่นมานะครับ เราควรจะนำโครงสร้างคร่าวๆของเขามาปรับใช้ ตรงไหนควรมี ตรงไหนไม่ควร และที่สำคัญเ็นตัวของตัวเองดีที่สุดครับ เพราะเสน่ห์ของเว็บไซต์จะอยู่ตรงนี้ ลองยกตัวอย่าง อยากเปิดร้านสุกี้ เราชอบร้านแบบ MK สุกี้ เราสร้างร้านเหมือนกับ MK มาเลย 100% ทั้งที่นั่ง บรรยากาส หม้อสุกี้ รวมถึงเมนู และอาจจะเอามาทั้งชื่อเลย เชื่อว่า แบบนี้ธุรกิจคงอยู่ไม่ได้ยาวแน่นอน หรืออย่างมากเป็นได้แค่ผู้ตามครับ


เทคนิคการตั้งชื่อเว็บไซต์ | Noonnum.com
การตั้งชื่อเว็บไซต์นั้นสำคัญมั้ย?มีวิธีไหนบ้าง | noonnum.com


อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ธุรกิจที่จีน เมื่อก่อนด้วยทรัพยากร และประเทศที่ตกต่ำทางรัฐเขาก็เลยเน้น การผลิตแบบเลียนแบบและทำของที่เน้นจำนวน เพื่อความรวดเร็วและเอาตัวรอดในสถาณการณ์นั้น ปัจจุบันรัฐบาลภายใต้การนำของสีจิ้นพิง(ผู้นำคนปัจจุบันที่คนจีนบอกว่าพันปีจะมีสักคน) ปรับปรุงนโยบาย ชูว่าตอนนี้เราเลียนแบบมาพอแล้ว ถึงปีที่เราต้องเปลี่ยนเป็นผู้นำไม่ใช่ผู้ตาม ทำให้จีนมีอัตราการเติบโตของธุรกิจต่อปีสูงสุดถึง 47% ต่อเนื่องกันมาหลายปีเลยทีเดียวครับ ดังนั้น เว็บไซต์ของเราคือการ เปรียบเทียบเพื่อดูว่า เว็บไซต์ไหนที่คนนิยม เขามีอะไรกัน เขามีโครงสร้างยังไง หลังจากนั้น เราก็นำจุดเด่นของเรามาใส่ และใส่ความเป็นตัวของเราเข้าไปครับ



ชื่อเว็บไซต์สำคัญมั้ย ?

เกริ่นมาแบบยาวมากถึงสามย่อหน้าเลย วันนี้เรามาคุยกันในเรื่องของชื่อเว็บไซต์กันต่อครับ ชื่อเว็บไซต์หรือเราเรียกว่า Domain Name เป็นคำที่ปรากฏหลังคำว่า “www.” นั้นแหละครับ ชื่อที่ดีจะส่งผลต่อธุรกิจ และมีผลโดยตรงกับ SEO ของGoogle หรือ Search Engine ตัวอื่นๆเพื่อให้เข้าใจว่าเว็บไซต์ของเราอยู่ในหมวดไหน บางธุรกิจนำชื่อเว็บไซต์ไปตั้งต่อ เป็นชื่ออีเมล์แอดเดรสต่อเลย ยกตัวอย่าง www.noonnum.com เรานำไปใช้เป็นเมล์แอดเดรสเป็น service@noonnum.com เป็นต้นครับ



วิธีการตั้งชื่อเมล์ขอให้จำไว้ดังนี้

  • ชื่อต้องสั้น ยิ่งยาวลูกค้ายิ่งพิมพ์ผิดครับ

  • ชื่อควรจะง่ายง่าย พยายามหลีกเลี่ยงตัวสะกดยาก อักขระพิเศษ หรือตัวเลข

  • ชื่อควรจะสื่อถึงชื่อแบรนด์ของเราเลย ตัวอย่างเช่น inearbeat.com หรือ noonnum.com หรือ apple.com

  • ชื่ออาจจะสื่อว่าธุรกิจของเราทำอะไร ตัวอย่างเช่น bkkmarathon.com(เว็บเกี่ยวกับการวิ่ง) cwnsand.com (เว็บเกี่ยวกับขายทราย)


แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าชื่อที่เราเลือกนั้นมีคนนำไปใช้หรือยัง ปัจจุบันเราสามารถตรวจสอบและซื้อ Domain Name จากเว็บดังได้หลายเว็บไซต์ ยกตัวอย่างของ

Google - https://domains.googleGodaddy - https://sg.godaddy.com Wordpress (เว็บ Tools สร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเอง) - https://wordpress.com/domains/


นอกจากนั้น เรายังสามารถเลือก Suffix คำต่อท้ายโดเมนเนมของเรา ไม่ว่าจะเป็น .com .org .net .co.th ซึ่งเอาไว้เป็นตัวนิยามลักษณะของเว็บไซต์และ สถานที่ของเว็บไซต์นั้นๆ เราสามารถดูได้จากลิงค์นี้ https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Internet_top-level_domains




เราต้องเตรียม วางแผนเรื่องข้อมูลที่จะนำลงในเว็บกันต่อ

ปัจจุบันผู้ชมของเรามักจะมีเวลาไม่มาก ในการ Engage กับเว็บไซต์ของเรา ทำอย่างไรที่จะดึงเวลาให้พวกเขามาสนใจในเว็บของเรา สิ่งที่จำเป็นต้องเตรียมนั้นก็คือ ภาพที่น่าสนใจ สโลแกนที่โดดเด่น วีดีโอดึงดูด และ การเล่าเรื่องผ่านตัวอักษรที่น่าคล้อยตาม สิ่งหลักที่ทำให้เว็บหนึ่งๆน่าสนใจขึ้นมานั้นก็คือ การใส่คอนเทนต์ที่เป็นของตัวเองครับ อย่างสม่ำเสมอ สำหรับภาพหรือมีเดียนั้นเราสามารถหา Stock Image จากแหล่งต่างๆ บางแห่งก็ฟรี บางแห่งก็ต้องลงทุนครับ


ยกตัวอย่างเว็บไซต์ที่เรามักจำนำมีเดียมาใช้ อย่าง App Canvas (https://www.canva.com/) หรือ https://www.pexels.com/ และอีกทีhttps://www.shutterstock.com


คุณภาพของคอนเทนต์หรือ คุณภาพของคอนเทนต์ อันไหนดีกว่ากัน?

ในวันนี้เราจะต้องมองและเข้าใจว่า ลูกค้าของเรานั้นจะมีความสามารถในการอ่านผ่านหน้าจอลดลงถึง 25% (จากงานวิจัยของ มหาวิทยาลัย Maastricht University) ดังนั้นเนื้อหาที่ไม่มีคุณภาพนั้น ชั่งยากต่อการดึงดูดให้ผู้อ่านอยู่ในหน้าจอนาน


ถ้าเลือกที่จะทำคอนเทนต์จะต้องจำคำสามคำนี้ครับ

  1. คอนเทนต์ต้องมีคุณภาพ(Quality) มาเป็นอันดับหนึ่ง

  2. คอนเทนต์ต้องลงสม่ำเสมอ(Consistency)เป็นอันดับสอง อัพเดตทุกวันจันทร์ก็ได้ ขอให้ลงตลอด

  3. สุดท้ายเป็นเรื่องของจำนวน(Quantity) จะมีผลกับอัลกอริทึ่มของ Search Engine ต่างๆครับ

การสร้างเว็บไซต์ให้ทุกอย่าง ภาพ สโลแกน ตัวอักษร วีดีโอ ทำให้ทั้งหมดรวมกันให้ เป็นเนื้อเดียวกันต้องอาศัยเวลาและการทำอย่างต่อเนื่องของเจ้าของบ้าน เปรียบเหมือนเราสร้าง เมื่อเราเข้าไปอยู่เราก็ต้อง หมั่นจัดร้าน โดยฟังเสียงจากคนที่เข้ามาเยี่ยมชม ฟังคอมเมนต์ของตัวเอง ของเพื่อนๆของลูกค้าและปรับเปลี่ยนด้วยใจที่ยืดหยุ่น ไม่มีการปรับครั้งไหนดีที่สุด แต่ต้องปรับไปเรื่อยๆครับ



เว็บไซต์ของเราจะต้องมีกี่หน้า หน้าอะไรกันบ้าง?

โดยปกติผู้เยี่ยมชมมักจะมีประสบการณ์เข้าเว็บมาไม่รู้กี่พันกี่หมื่นเว็บไซต์ พวกเขาเหล่านั้นคาดหวังว่าเว็บไซต์ที่มีมาตราฐานจำเป็นต้องมีหน้าที่พวกเขาคุ้นเคย แล้วหน้าอะไรกันบ้างหล่ะครับที่เป็นมาตราฐาน


1.หน้า HomePage หน้าแรกสำหรับเว็บไซต์เวลามีคนมาเยี่ยมเปรียบเหมือนประตูเข้าร้าน หน้าร้านหรือบริเวณรับแขก หน้านี้เป็นหน้าที่รับแขก เรามีโอกาสแค่ครั้งเดียวที่จะสร้างความประทับใจให้ผู้มาเยี่ยม หน้านี้เราควรจะสร้างหรือออกแบบให้ สะอาดตา ไม่รกวุ่นวาย จัดเรียงเป็นระเบียบ สิ่งที่ควรใส่ข้อมูลที่สำคัญของธุรกิจเรา ภาพโลโก้ ภาพสินค้าหลักที่เราเน้น และควรมีปุ่มเชื้อเชิญให้เข้าไปต่อในสินค้าหรือบริการหลักนั้นๆ หน้านี้จำเป็นต้องโหลดขึ้นมาเร็วที่สุด ไม่เกิน 5 วินาที


2.หน้า สินค้าหรือบริการ (Products & Service) หน้านี้เป็นหน้าที่ควรทำลิงค์มาจากHomePage และหน้านี้คือหน้าที่เป็นเป้าหมายหลักหรือจุดประสงค์หลักในการมีเว็บไซต์ ดังนั้นคำอธิบายของบริการหรือ สินค้า รวมถึงราคาก็จำเป็นที่จะต้องใส่ใจเป็นพิเศษ หน้านี้เราควรจะมี สินค้าแนะนำหรือ สินค้าที่ลูกค้าของเราซื้อเป็นประจำ

เราควรจะใส่ใจลำดับในการสั่งซื้อสินค้า เช่น กดสั่งซื้อ สินค้าเข้าไปที่ตะกร้า และระบบเด้งข้อมูลให้ผู้ซื้อกรอกรายละเอียด และเด้งไปหน้าจ่ายเงินและสรุปรายการสั่งซื้อเลยหรือไม่ และวิธีการที่ลูกค้าจ่ายเงินนั้นจำเป็นต้อง Loginเพื่อทำการลงทะเบียนในการสั่งซื้อครั้งต่อไปมั้ย เว็บไซต์ใหญ่ๆอย่าง Amazon มักจะลดความวุ่นวายเหล่านี้ลง โดยสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าใหม่ โดยให้คลิกแค่ครั้งเดียวก็สั่งซื้อพร้อมส่งถึงหน้าบ้านทันที


3.หน้าเกี่ยวกับธุรกิจ (About) หน้านี้บางกิจการมักจะไม่ค่อยเน้น แต่บางธุรกิจถือว่า เป็นหน้าที่พวกเขาสามารถจะเล่าเรื่องเบื้องหลังของธุรกิจให้ฟังได้ Story Teller ที่ดีนำมาซึ่งความน่าเชื่อถือ เราต้องเข้าใจว่าการค้าขายในปัจจุบัน ผู้ซื้อไม่ได้ใช้เหตุผลอย่างเดียว ผู้ซื้อมักจะเลือกซื้อด้วยหัวใจ หรือตัวตนของผู้ซื้อเองด้วย อย่างสินค้าของแอปเปิลถึงแม้ราคาจะแพงกว่า สินค้าของคู่แข่ง แต่ที่จำเป็นต้องมีเพราะคือตัวตนของเรา ที่เรียบง่าย หรูหรา ใครใช้ดูฉลาดเป็นอิสระ เป็นต้น ในหน้านี้เราสามารถเลือกเล่าเรื่องที่น่าประทับใจ ถ่ายรูปตัวเอง พร้อมกับรอยยิ้มของทีมเราเข้าไป ก็อาจจะเพิ่มโอกาสการทำธุรกิจมากขึ้นก็ได้ครับ


4.หน้าติดต่อเรา(Contact) เป็นหน้าที่ใส่ข้อมูลเพื่อให้ลูกค้า ค้นหาหรือคุยกับเราได้ กรณีที่เขามีคำถามต้องการสอบถาม บริการหลังการขาย หรือ สอบถามเส้นทางการมาที่หน้าร้าน สำหรับธุรกิจที่สินค้าราคาสูง หรือบางครั้งลูกค้า อยากจะระบายปัญหาหรือติดต่อธุรกิจเราก็ทำได้ง่ายจากข้อมูลในหน้านี้ครับ นอกจากนี้เราสามารถเชื่อมต่อ กับ Social Media ของหน้าเพจเราไม่ว่าจะเป็น Facebook Instagram หรือ Platform อื่นๆก็ทำได้สะดวกครับ

5. บทความ (Blog) หน้านี้มีไว้เพื่ออัพเดต ความรู้ เพื่อนำมาใช้ในการทำการตลาดเพื่อส่งมอบคุณค่า ให้กับลูกค้าหรือผู้เข้าเยี่ยมโดยตรง ความรู้ในหน้านี้จะส่งผลให้ Bot ต่างๆของ Google เข้ามาเพื่อเชื่อมลิงค์ในหน้านี้ ให้กับผู้คนที่สอบถามข้อมูลเข้ามาในเว็บ Search ต่างๆครับ บางครั้ง เว็บไซต์เราจะติดอันดับยอดนิยมก็มาจากการที่เราใส่ความรู้เฉพาะทาง และหมั่นอัพเดตบ่อยๆก็มาจากหน้านี้ครับ

6. ตัวอย่างลูกค้าที่ประทับใจธุรกิจของเรา (Testimonial) หน้านี้เป็นตัวอย่างหรือรีวิวที่มีผลกับลูกค้าคนใหม่โดยตรง การที่กิจการมีหน้านี้ ยิ่งบทรีวิวเป็นลูกค้าที่คนส่วนใหญ่รู้จัก ก็จะส่งผลต่อการขายสินค้าหรือบริการของเราได้มากครับ ยกตัวอย่าง ผมกำลงมองหา สินค้าหรือซอฟท์แวร์ตัวใหม่ที่เข้ามาจัดการเรื่องการเข้าออกของพนักงาน ผมไปเจอเว็บไซต์ของบริษัทซอฟท์แวร์หนึ่งที่เขามีหน้าTestimonial นี้ และเนื้อหาภาพแสดงความประทับใจของผู้บริหารท่านหนึ่งที่ผมรู้จัก และอธิบายว่าเขาใช้ซอฟท์แวร์ตัวนี้แล้วได้ผลอย่างไรบ้าง ผมกดสั่งซื้อซอฟท์แวร์ ตัวนี้ในทันทีเพราะผมค่อนข้างเชื่อมั่นการตัดสินใจของผู้บริหารท่านนี้อยู่แล้ว เป็นต้น



พอหอมปากหอมคอสำหรับ รายละเอียดในการสร้างเว็บไซต์ ให้ผู้ที่เริ่มต้นนะครับ บทความหน้าคงมาต่อกันเรื่อง User Experience (UX) และ เรื่อง SEO (Search Engine Optimize)ที่จำเป็น รวมถึงเครื่องมือที่มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์กัน สำหรับเพื่อนๆคนไหนมีคำถามก็สามารถ Comment หรือสอบถามโดยตรงได้ที่เบอร์ 081-912-9054 หรือ ได้ที่ลิงค์นี้ครับ Noonnum Digital Marketing Buddy

55 views0 comments

Commentaires


bottom of page