จากบทความของ Helen Lee Bouygues จาก Harvard Business Review ระบุว่า คนเรามักจะติดนิสัย การออกความเห็นและตัดสินใจ โดยใช้สัญชาตญาณเป็นหลัก บางครั้งคนที่ทำงานหรือมีประสบการณ์มานาน เริ่มที่จะไม่พยายามคิดวิเคราะห์ จากข้อมูลต่างๆ ให้ละเอียดมากขึ้น แต่มักจะใช้เหตุผลจากประสบการณ์ของตัวเองมาใช้ บางครั้งก็ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ผิดพลาดตามมาจากการตัดสินนั้นๆ และเรามักจะพบได้บ่อยคือ คนที่มีอำนาจตัดสินใจ มักจะกระโดดไปยังบทสรุปทันทีทันใด
ทุกๆวันในการทำงานของเรา เรามักจะต้องตัดสินใจ เรื่องเล็กๆและเรื่องใหญ่ๆอยู่ทุกวันอยู่แล้ว ยิ่งผู้ประกอบการอย่างพวกเรามักมองว่า การตัดสินใจเร็วก็จะทำให้ได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน แต่การตัดสินใจปัญหาใหญ่ๆ บางอย่างเช่น ต้องขยายการผลิตเพิ่ม ต้องซื้อเครื่องจักรใหม่ ต้องเพิ่มคนงานหรือลดคนงาน การตัดสินใจลักษณะนี้ ส่วนใหญ่เรามักจะใช้ความเห็นส่วนตัวมาตัดสินใจครับ เราลองมาดูกันว่ามีทางปรับแก้กันอย่างไรได้บ้าง
นิสัยแรกคือ หมั่นตั้งคำถามสำหรับข้อสรุปนั้นๆทุกครั้ง
เมื่อเราได้ข้อสรุปแล้ว เราไม่ควรจะตกลงในครั้งแรก เราควรจะถามคำถามกับข้อสรุปนั้นๆอีกสักครั้ง หรือทิ้งไว้หนึ่งคืน และถามว่า ข้อสรุปนี้จะส่งผลต่อบริษัทแค่ไหน? ข้อสรุปนี้ลูกค้าจะเป็นอย่างไร? ถ้าลูกค้าเปลี่ยนใจไปหาเจ้าอื่นเราจะทำอย่างไร? ถ้าซัพพลายเออร์เลิกทำธุรกิจเราจะทำอย่างไร? คำถามเหล่านี้จะทำให้เราได้มองเห็นมุมต่างๆ ทำให้เราตัดสินใจได้สุขุมขึ้นครับ
นิสัยที่สอง ใช้ข้อมูลและใช้เหตุผลในการมองมัน
บางครั้งการตัดสินใจก็มักจะมาจากที่เรา หรือทีมงานเรา เอาข้อมูลมาคุยกันในห้องประชุม บางครั้งข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้มาจาก การไปคุยกับลูกค้าโดยตรงเลย ไม่ได้มาจากปัญหาของเขา ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่า เราเป็นบริษัทผลิตเสื้อผ้าส่งออก เราออกแบบเสื่อผ้าแนวตอบโจทย์คนในที่ที่หนึ่ง เรามักจะเข้าข้างตัวเองว่า ลูกค้าอีกที่หนึ่ง อยากจะได้เสื้อผ้าแนวเดียวกันด้วย เราเลยตัดสินใจผลิตไปขายทันที อย่างนี้ทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ครับ เราจำเป็นต้องหาข้อมูลความต้องการของลูกค้ากลุ่มใหม่ ด้วยการสอบถาม และทำการทดลองตลาดก่อน ก่อนสั่งผลิตล๊อตใหญ่ ยิ่งปัจจุบัน ความต้องการมักจะแปรเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว เราต้องพยายามเชื่อมหลักฐานหรือข้อมูลจริงๆ ของหน้างาน ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้ ด้วยการลงไปหาหรือสอบถามข้อมูลด้วยตัวเอง หรือทีมงานที่ขึ้นตรงกับผู้ที่ตัดสินใจครับ
นิสัยที่สามคือ หมั่นเตือนตัวเองบ่อยๆสำหรับ แนวคิดที่มีลักษณะคล้ายๆกัน
ตัวเรา และทีมงานข้างๆเรามักจะมีแนวคิดที่คล้อยตามกันครับ หัวหน้าคนนั้นเก่งมักจะตัดสินใจได้ดี เอาตามไปเลยก็แล้วกัน เราจะได้ไม่ต้องรับผิดชอบมาก เหตุผลของการที่เรามีความคิดแตกต่าง จะทำให้เราเห็นปัญหาและบทสรุปเหล่านั้น ด้วยมุมใหม่ๆ ทำให้เรามีความรอบคอบมากขึ้น ทางแก้ของทางนี้คือ เมื่อผลลัพธ์ของการประชุมออกมาโดยไม่มีใครโต้แย้ง เราควรจะให้ทุกคนกลับไปนอนคิกหนึ่งคืน แล้วพรุ่งนี้ เราจะสอบไปทางข้อความส่วนตัวของแต่ละคน ว่าเห็นต่างอย่างไรกันบ้างครับ แล้วเราจะได้ผลลัพธ์ในการตัดสินใจที่ดีมากขึ้นครับ
เอาหล่ะครับ เราได้นิสัยที่ดีทั้งสามอย่างไปเรียบร้อยแล้ว ทักษะในการตัดสินใจนี้เป็น สิ่งที่ฝึกกันได้ครับ หมั่นฝึกมันบ่อยๆ แล้วเราจะเก่งขึ้น พัฒนาขึ้น สุดท้ายถึงแม้ว่าเราจะตัดสินใจและผลลัพธ์ออกมาเป็นอย่างไร ขอให้จำว่าทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วดีหมด ครับเราเป็นคนเลือกเอง เราก็มั่นใจในการก้าวต่อไป Noonnum ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประกอบการทุกคนครับ ใครสนใจทำการตลาด ดิจิตอล ปรับปรุงเว็บไซต์ใหม่ ก็สามารถติดต่อทีมงาน Noonnum ได้เลยครับ 081-912-9054 หรือที่ Line@: @noonnum
Comments